สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย สาขาสตูล ขอต้อนรับ สู่เว็บไซต์ Ymatsatun.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

งานประชุมใหญ่ประจำปี สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย 2012

งานประชุมใหญ่ประจำปี สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย 2012
รับฟังการเสวนาหัวข้อเรื่อง "อนาคตศาสตร์...ประชาชาติอิสลาม"
30-31 ธ.ค. 55 นี้
วันอาทิตย์ที่ 30 ธ.ค.2555 ณ โรงแรมไดอิชิ หาดใหญ่
ตอนบ่าย ฟุตซอล นัดพิเศษ (ในงานประชุมใหญ่ ยมท. 2012)

YMAT CUP 2012
พบกับ
- ทีมชูรอกลาง ยมท.  - ทีม ยมท. แต่ละสาขา  - ทีมคณะกรรมการกลาง ยมท.
และปิดท้ายด้วย ให้โอวาทโดย อาวุโส ยมท.
วันจันทร์ที่ 31 ธ.ค.2555 ณ มัสญิดกลาง จ.สงขลา
วันที่ 30 ธันวาคม 2555
เวลา 14.00 - 17.00 น.
ณ สนามหญ้าเทียม Hatyai Soccer Club  (หลังปั๊มเชลล์ มอ.หาดใหญ่) สำหรับทีมยมท.สตูลได้ไปกันครบเซ็ทได้เล่นกันทุกคน(ยกเว้นคนหัวเข่าไม่แข็งแรง)เลยกลายเป็นกองเชียร์
งานนี้ได้ทั้งความรู้ การแลกเปลี่ยนทัศนคติคนทำงาน เพิ่มเติมความรู้เติมเต็มอิบาดะฮ์คนทำงานตามทฤษฏีต้นไม้ของ ymat

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555



30-31 ธค.นี้ พบปะคนหนุ่มสาวมุสลิมประจำปี   ในงานประชุมใหญ่ 2012 กับหัวข้อ ...... "คน หนุ่มสาวมุสลิม ... กับอนาคตศาสตร์" ... หาดใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ. พี่น้องสตูลอย่าลืมพร้อมกันตามวันและเวลาตามกำหนดการ  ติดต่อประสานงาน     โทรประธานสาขาสตูล 0817981303

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยมท.สตูลศึกษาดูงานUniversiti Pendidikan Sultan Idis ( UPSI ), Malaysia












              
              เมื่อวันที่ 12-13 พ.ค.2555 ที่ผ่านมาทางยมท.ได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน Universiti Pendidikan Sultan Idis ( UPSI ), Malaysia โดยการนำอ.อามีน หมันยามีน ที่ปรึกษาสนง.กกอ.จ.สตูล
นายอับดุลเลาะ ปังแลมาปุเลา นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสตูลและคณะ นายอารีย์ ตาเอ็น นายกสมาคมครูอิสลามศึกษาสตูลและคณะ นายสมพร เหมรา ประธานสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย สาขาสตูล นายอัสนาวี มุคุระ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระบี่และคณะ การเดินทางครั้งนี้ทางคณะได้เข้าร่วมพูดคุยกับทางตัวแทนมหาวิทยาลัยนำโดยดร.อับดุลฮาลีม  อะลี อาจารย์คณะภาษาและการสื่อสาร (Fakulti   Bahasa  dan Komunikasi )   ในเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาต่อยังประเทศมาเลเซีย ในด้านครูและบุคลากรทางตัวแทนจะส่งมาเพื่อเรียนคอร์สภาษามลายูกลางที่มหาวิทยาลัยตลอดจนการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โทและเอกโดยทางมหาวิทยาลัยจะออกค่าใช้จ่ายให้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุน นอกจากนี้ยังได้พูดคุยในเรื่องของการศึกษาต่อของนักเรียน การเข้าแคมส์และการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศไทย-มาเลเซียซึ่งจะมีการทำข้อตกลงกันในอนาคตต่อไป  การไปศึกษาดูงานในครั้งประสบผลสำเร็จขอให้อัลลอฮ์ทรงตอบแทนความดีคณะผู้บริหารทุกท่านที่ทุ่มเทเสียสละทั้งเวลาและเงินทองเพื่อความก้าวหน้าทางการศึกษาของมุสลิมไทย

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประธานยมท.สตูลร่วมกิจกรรมสัมมนาองค์การบริหารองค์การนักศึกษามอ.ชุดใหม่




           
             เมื่อวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2555   นายสมพร  เหมรา ประธาน ยมท.สตูลได้เข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนาองค์การบริหารองค์การนักศึกษาต้นกล้าแห่งมอ.  อาสาพัฒนากิจกรรม ณ อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตาการเดินทางไปร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ถือว่าได้พูดคุยกับน้องๆนักศึกษาถึงการบริหารงานในรั้วมหาลัย การกำหนดรูปแบบตลอดจนการทำกิจกรรมต่างๆที่ถือว่าคณะกรรมการชุดนี้ต้องรับภาระเป็นตัวแทนให้กับนักศึกษาเกือบหมื่นคนในมหาวิทยาลัย หวังว่าน้องๆทุกคนจะได้กลับไปได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการสัมมนาในครั้งในรั้วมหาวิทยาลัยต่อไป  ขอให้น้องๆมีความเข้มแข็งในการทำงานดังที่ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า มีรายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะห์  แจ้งว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า :
        ผู้ศรัทธา (มุอฺมิน) ที่เข้มแข็งนั้นดี และเป็นที่รักสำหรับอัลเลาะห์ยิ่งกว่ามุอฺมินที่อ่อนแอ และทั้งหมด(หมายถึงมุอฺมินที่เข้มแข็ง และมุอฺมินที่อ่อนแอ) ก็ล้วนแล้วแต่มีส่วนดีกันทั้งนั้น จงเอาใจใส่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อท่าน และจงขอความช่วยเหลือต่ออัลเลาะห์ และท่านอย่าได้ท้อแท้ และหากว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาประสบกับท่าน แล้วท่านอย่าได้กล่าวว่า :
          ถ้าหากฉันทำเช่นนั้น เช่นนี้ ก็คงจะต้องได้เช่นนั้น เช่นนี้ แต่ให้ท่านกล่าวว่า : อัลเลาะห์ได้ทรงกำหนดเอาไว้แล้ว และสิ่งใดที่พระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็จะทำสิ่งนั้น และแท้จริงคำว่า ถ้าหากนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ชัยฏอนแทรกแซงบงการ  (บันทึกโดยอิมามมุสลิม)  ทางยมท.สตูลและคณะทำงานร่วมเดินทางกับผู้ที่ทำงานเพื่ออัลอออฮ์เสมอ
การนอนของชัยตอน เรา...มุสลิมนอนแบบไหน เพราะการนอนถือได้ว่ามีโอกาสกลับไปสู่พระเมตตาของอัลลอฮ์

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรฮิงยาส์ ประชาชนที่ถูกลืมในพม่า

เปลือยชีวิต ชาวโรฮิงญา กับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย (คมชัดลึก)


เปลือยชีวิต ชาวโรฮิงญา กับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย (คมชัดลึก)
          "อยู่ที่รัฐอาระกัน ก็เหมือนรอคอยความตาย สู้บากหน้ามาหาความหวังใหม่ดีกว่า"
          "โรฮิงญา" ชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า เชื้อชาติอาระกัน เอ่ยปากเล่าถึงชีวิตที่สุดแสนจะโหดร้ายของพวกเขา ในเขตพื้นที่จังหวัดหม่องดอ และจังหวัดสิดอ ในรัฐอาระกัน ประเทศพม่า

          มามุต ฮุดเซ็น อายุ 50 ปี เล่าถึงครอบครัวของเขาที่จังหวัดหม่องดอ ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ติดกับประเทศบังกลาเทศ ว่า มีเมีย 1 คน ลูกชาย 1 คน ผู้หญิง 3 คน มีอาชีพทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวโรฮิงญาในย่านดังกล่าว "ลำบากมากๆ" มามุต บ่น เนื่องจากบางวันแทบจะไม่มีอะไรกินเลย เพราะความยากจน และยังถูกกลั่นแกล้งจากทหารพม่า ที่มักจะเข้ามาในหมู่บ้าน เก็บเกี่ยวผลผลิตของชาวบ้านไปหน้าตาเฉย ใครขัดขืนก็จะโดนเฆี่ยนด้วยหวาย หรือบางรายถึงขั้นโดนฆ่าทิ้งก็มีให้เห็นบ่อยๆ เมื่อใครไปขายของได้เงินแล้วหากทหารพม่ารู้ ก็จะเข้ามาถามก่อนที่จะแย่งเงินเหล่านั้นไปทันที

          "ไม่มีสภาพความเป็นคน หรือเป็นมนุษย์เลย พวกเราอยู่อย่างไร้อนาคต โดนกดดันจากทหารพม่าตลอดเวลา ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหน โดยเฉพาะการเดินทางข้ามเขตที่ไม่สามารถทำได้เลย จะเดินทางไปมาได้ก็เฉพาะภายในจังหวัดที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เท่านั้น เพราะหากออกนอกพื้นที่ไม่เฉพาะทหารพม่าที่คอยจับจ้อง ชาวพม่าก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกเรา และบ่อยครั้งที่พวกเราโดนทำร้ายร่างกายโดยชาวพม่า หรือโดนดูถูกเหยียดหยาม ถ่มน้ำลายใส่ก็มี"
          ฮามิด ดูซัน ชายหนุ่มอาระกัน วัย 19 ปี กล่าวว่า พวกเรายากจนมาก ซ้ำร้ายโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา ออกไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่ได้ เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อย ทั้งยังเป็นชนกลุ่มที่รัฐบาลพม่ารังเกียจมากที่สุด ถึงขั้นไม่ยอมรับว่ามีพวกเราอยู่ในประเทศ พวกเราไม่มีสิทธิอะไรเลย ทั้งที่ดิน การศึกษา การรักษาพยาบาล

          "น้อยใจครับ ผมเกิดในจังหวัดหม่องดอ รัฐอาระกัน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศพม่า แม้ว่าผมจะมีเชื้อสายบังกลาเทศ แต่การที่เกิดที่รัฐอาระกัน ก็มีความรักและความผูกพันต่อแผ่นดินเกิด แต่แผ่นดินที่ผมเกิดกลับไม่ต้อนรับผม ผมไม่เข้าใจครับ โดยเฉพาะการตั้งข้อรังเกียจต่อพวกเราของรัฐบาลทหารพม่า"

          ฮามิด เล่าอีกว่า ชาวโรฮิงญา แม้ว่าจะมีประวัติศาสตร์ที่ไม่ดีกับชาวพม่าสมัยรัฐบาลอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมในย่านนี้ แต่หลังจากอังกฤษออกไปแล้ว พวกเราถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่เคยต่อสู้ หรือเรียกร้องอะไรจากรัฐบาลทหารพม่าเลย นอกจากเรียกร้องขอ  “สิทธิความเป็นคน” ให้ทัดเทียมกับชาวพม่าทั่วไปแค่นั้นพวกเราก็พอใจแล้ว
          เชย ลี ฮัน ดา อายุ 25 ปี จากจังหวัดมุสิดอ กล่าวว่า ตอนที่โดนจับตัวอยู่ที่ สภ.ปากน้ำ จ.ระนอง และได้รับอาหารจากตำรวจไทย เชื่อไหมว่า เมื่อได้กินข้าวคำแรกน้ำตาไหลออกมาทันที และหลายคนก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน คือ นอกจากจะซาบซึ้งในน้ำใจของคนไทยที่ต่างจากชาวพม่าที่โดนจับ และโดนทำร้ายที่เกาะแห่งหนึ่งในพม่า

          "พวกเราโดนควบคุมตัวไว้ถึง 5 วัน ไม่ได้กินอะไรเลย"
          ฮัน ดา เล่าขณะน้ำตาคลอเบ้าว่า อีกเหตุผลที่ทำให้น้ำตาร่วง คือ คิดถึงลูกเมียที่บ้าน บ่อยครั้งที่พวกเราอดข้าว ไม่มีอะไรจะกิน บางครั้งกินแค่วันละมื้อ จะกินครบ 3 มื้อเช่นคนทั่วไปก็น้อยเต็มที โดยเฉพาะหลายครั้งที่ต้องอด เนื่องจากต้องการให้ลูกเมียอิ่มก่อน ส่วนเราผู้ชายอดทนได้

          "ทุกคนรักบ้านเกิดครับ ไม่มีใครที่ต้องการดิ้นรน หรือดั้นด้นเดินทางออกจากบ้านเกิด มีแต่ทุกคนดิ้นรนเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในบ้านเกิดหรือถิ่นฐานที่ตนถือกำเนิด แต่จากความโหดร้ายที่พวกเราได้รับ มันสุดที่จะบรรยายให้เห็นหรือให้รับรู้ได้ หากไม่เจอด้วยตนเองยากที่จะบรรยายจริงๆ ผมถามเพื่อนๆ ถึงความรู้สึกตอนนี้ ทราบว่าทุกคนห่วงเมีย ห่วงลูกที่อยู่ที่รัฐอาระกัน โดยเฉพาะอาจจะถูกทำร้ายอีกหลังจากที่ทหารพม่าทราบว่าพวกเราหายตัวไป"

          มามัด จอคิด อายุ 24 ปี จากจังหวัดมุสิดอ ซึ่งยังนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลระนอง หลังจากโดนทหารพม่าทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะเรือที่เดินทางกำลังลอยลำบริเวณจังหวัดมะริด ประเทศพม่า "ทันทีที่ทุกคนเห็นทหารพม่า ซึ่งนั่งเรือรบมาทั้งหมด 4 ลำ ล้อมรอบพวกเรา กลัวมากครับ เพราะทุกคนรู้ถึงกิตติศัพท์ความโหดร้ายของทหารพม่าเป็นอย่างดี"
          บางคนตัวสั่นเทาไปหมด และแล้วในที่สุดพวกเราก็ได้รับการทำทารุณกรรมจริงๆ ตั้งแต่ทหารพม่าลงมาควบคุมตัว จะแตะ ต่อย ตบหน้า ถีบ จนกระทั่งนำตัวพวกเราไปยังเกาะแห่งหนึ่ง ทุกคนจึงถูกลงโทษโบยด้วยแส้จนได้รับบาดเจ็บ และใช้ผ้าพันชุบน้ำมันจุดไฟเผามาลน ตนเองโชคร้ายที่สุด เพราะเป็นแผลฉกรรจ์ที่ขา "เจ็บมากๆ ครับ แต่พวกเราทุกคนทนได้ เพราะความเจ็บปวดแค่นี้ เมื่อเทียบกับความโหดร้ายที่เราได้รับอยู่ทุกวันมันเทียบกันไม่ได้เลย"           มามัด จอคิด เล่าต่อว่า หลังจากพวกเรานอนทนทุกข์ทรมานอยู่ถึง 4 คืน 5 วัน ทหารพม่าจึงปล่อยลงเรือ และให้เดินทางต่อจนถูกทหารไทยจับตัว “ทุกคนดีใจ กราบพระอัลเลาะห์ทันทีที่เห็นทหารไทย เพราะทุกคนรู้ว่านั่นคือ รอดแล้วจากความรู้สึกในตอนนั้น” พวกเราไม่เคยคิดที่จะมาทำให้คนไทยยุ่งยาก เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะไปไหน ทุกประเทศล้วนรังเกียจพวกเรา

          "แม้ผมจะถูกควบคุมตัวในเมืองไทย โดนจองจำในห้องขัง ในเรือนจำ หรือที่ไหนๆ พวกเราดีใจเพราะนั่นเป็นชีวิตที่สุขสบายที่สุดที่ได้พบเจอ ตอนนี้ผมนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลระนอง คุณรู้ไหมว่าความรู้สึกผมเหมือนอยู่โรงแรมชั้น 1 อยู่ห้องพักดีๆ ได้กินอาหารอิสลามที่อร่อยที่สุดในชีวิตของผม ทั้งๆ ที่ผมน่าจะเป็นทุกข์กับสภาพบาดแผลที่ผมได้รับ แต่ความรู้สึกเป็นสุขมันมีมากกว่าจริงๆ ครับ ผมอิจฉาคนไทยจริงๆ ที่ได้เกิดมาบนผืนดินแห่งนี้ ผืนแผ่นดินที่มีแต่ความสุข ไม่เป็นผืนแผ่นดินที่มีแต่ความทุกข์เช่นผืนแผ่นดินของพวกผม" มามัด จอคิด กล่าวในที่สุด


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

โดย บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ค้นหาบล็อกนี้